วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Learning Log : Astronomy

กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
      ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบรวมตัวของเนบิวลาด้วยแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง การยุบตัวทำให้ความดันของเนบิวลาเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิภายในเนบิวลาสูงขึ้นด้วย เมื่ออุณหภมิสูงขึ้นเป็นแสนเคลวิน เนบิวลาจะกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด (protosun) แรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดัน ดวงอาทิตย์ก่อนเกิดจึงยุบตัวลงต่อไปอีก จนอุณหภูมิที่แก่นสูงขึ้นประมาณ 15 ล้านเควิล ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่แก่นและเป็นแหล่งพลังงานของดวงอาทิตย์ก่อนเกิดซึ่งขณะนี้กลายเป็นดวงอาทิตย์เกิดใหม่ ดวงอาทิตย์เริ่มอยู่ในสภาพแรงโน้มถ่วงกับแรงดัน


ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์
     ความส่องสว่าง (brifghtness) ของดาวฤกษ์ เป็นพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ปลดปล่อยออกมาในเวลา 1 วินาทีต่อหน่วยพื้นที่ ความส่องสว่างมีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร แต่เนื่องจากว่าตาของมนุษย์มีความละเอียดไม่มาก นักดาราศาสตร์จึงได้กำหนดค่าการเปรียบเทียบความส่างของดาวฤกษ์ เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด(magnitude) หรือ โชติมาตร ค่าโชติมาตรนี้ไม่มีหน่วย เป็นเพียงตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยมีหลักว่าดวงดาวริบหรี่ที่สุดที่ตาเปล่าสามารถมองเห็น มีค่าโชติมาตรเป็น 6 และดาวที่สว่างที่สุดที่ตาเปล่ามองเห็นได้มีค่าโชติมาตรเป็น 1 ดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.512 เท่า ถ้าดวงดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 5 จะสว่างต่างกัน(2.512)^5 หรือ 100 เท่า เมื่อใช้มาตราวัดโชติมารตเช่นนี้ จะพบว่า ดวงอาทิตย์มีโชติมาตรเท่ากับ -26.7 และดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุดมีโชติมาตรเท่ากับ -4.5

ดาวที่มีค่าโชติมาตรน้อยจะมีความสว่างมากกว่าดาวที่มีค่าโชติมาตรมาก

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

Learning Log : English

must have+V.3 
เป็นการคาดว่าเกิดอย่างนั้นอย่างนี้ในอดีต (เป็นการคาดคะเนแบบบอกเล่า)

couldn't have + V.3
เป็นการคาดคะแเนในอดีต (แบบปฏิเสธ)

should have + V.3
ควรทำแต่ไม่ทำ

should not have + V.3
ไม่ควรทำแต่ทำไปแล้ว

was/were to have + V.3
(ตามกำหนด ตามแผน) จำเป็นต้องทำอย่างนั้นในอดีต แต่ไม่ได้ทำหรือเกิดตามนั้น

needn't have + V.3
ไม่ควรต้องทำอย่างนั้นเลย(เพราะไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น)

might have + V.3
แสดงความเป็นไปได้ในอดีต

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

Learning Log : Chemistry

ภาวะสมดุล คือ ภาวะที่ความดันของไอเหนือของเหลวมีค่าคงที่ หรือภาวะที่จำนวนโมเลกุล ของไอเหนือของเหลวมีค่าคงที่

ความดันไอ คือ ความดันไอเหนือของเหลว ณ ภาวะสมดุล

ความดันไอของของเหลวแต่ละชนิด มีค่าเฉพาะตัวค่าหนึ่งที่อุณหภูมิหนึ่ง และถ้าอุณหภูมิเพิ่ม ความดันไอจะเพิ่มด้วย

จุดเดือด คือ อุณหภูมิขณะที่ของเหลวเดือด โดยความดันไอของของเหลวที่จุดเดือดจะเท่ากับ ความดันบรรยากาศขณะนั้น


ของเหลวการระเหยความดันไอแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ




จุดเดือดต่ำ




เร็ว




สูง




น้อย




น้อย




จุดเดือดสูง




ช้า




ต่ำ




มาก




มาก


-----------
ผู้เขียน : อ.บัวแก้ว รัตนกมุท
ที่มา : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาคฤดูร้อน BRAND'S SUMMER CAMP'97




วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่เห็น... อาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิด?

...ชายคนหนึ่งวัยกลางคนขึ้นรถเมล์


พอขึ้นมาได้สักพักชายคนนี้ก็ไปแย่งที่นั่งจากเด็ก ทำให้เด็กต้องยืนแทน


หลังจากที่ชายคนนั้นได้นั่งสักพักหนึ่งก็มีหญิงตั้งครรภ์ขึ้นมาบนรถ


ซึ่งชายคนนี้ก็มองผู้หญิงสักพักแล้วก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านแทน


ขณะนั้นคนเก็บเงินค่าโดยสารก็พูดเสียงดังว่ากรุณาเสียสละให้หญิงมีครรภ์


นั่งหน่อยเถอะ ก็มีชายแก่เสียสละเก้าอี้ให้หญิงมีครรภ์


ต่อมาหญิงแก่ถือของขึ้นมามากมาย แล้วก็ไม่มีที่นั่งอีก


หญิงแก่คนนั้นก็เดินมาเกาะราวตรงบริเวณที่ชายวัยกลางคน คนนั้นได้นั่งพอ


ดี แต่ชายคนนั้นก็เหมือนเดิมคือไม่ลุก ไม่สนใจหญิงชราคนนั้น


ทำให้พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารไปคุยกับคนขับ


ซึ่งแน่นอนคนขับย่อมหมั่นไส้ชายคนนั้น


จนถึงป้ายที่ชายคนนั้นจะต้องลง


ชายคนนั้นก็กดกริ่งตามปกติ


แต่เมื่อคนขับรถเมล์เห็นชายหนุ่นคนนั้นจะลงจากรถ


คนขับรถเมล์ก็เลยเบรกแบบสุดแรงเกิด


ซึ่งแน่นอนชายวัยกลางคนคนนั้นล้มลง แต่สิ่งที่คนขับรถเมล์ตกใจกว่านั่น


คือ....


ขาเทียมของชายคนนั้นที่หลุดออกจากขาของเขา


ทำให้คนขับรถเมล์สะเทือนใจว่าทำไมเราถึงทำแบบนั้น



ขอบคุณที่มา : นานาสาระ