กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เกิดจากการยุบรวมตัวของเนบิวลาด้วยแรงโน้มถ่วงของเนบิวลาเอง การยุบตัวทำให้ความดันของเนบิวลาเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิภายในเนบิวลาสูงขึ้นด้วย เมื่ออุณหภมิสูงขึ้นเป็นแสนเคลวิน เนบิวลาจะกลายเป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด (protosun) แรงโน้มถ่วงมากกว่าแรงดัน ดวงอาทิตย์ก่อนเกิดจึงยุบตัวลงต่อไปอีก จนอุณหภูมิที่แก่นสูงขึ้นประมาณ 15 ล้านเควิล ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ที่แก่นและเป็นแหล่งพลังงานของดวงอาทิตย์ก่อนเกิดซึ่งขณะนี้กลายเป็นดวงอาทิตย์เกิดใหม่ ดวงอาทิตย์เริ่มอยู่ในสภาพแรงโน้มถ่วงกับแรงดัน
ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์
ความส่องสว่าง (brifghtness) ของดาวฤกษ์ เป็นพลังงานจากดาวฤกษ์ที่ปลดปล่อยออกมาในเวลา 1 วินาทีต่อหน่วยพื้นที่ ความส่องสว่างมีหน่วยเป็นวัตต์ต่อตารางเมตร แต่เนื่องจากว่าตาของมนุษย์มีความละเอียดไม่มาก นักดาราศาสตร์จึงได้กำหนดค่าการเปรียบเทียบความส่างของดาวฤกษ์ เรียกว่า อันดับความสว่าง หรือ แมกนิจูด(magnitude) หรือ โชติมาตร ค่าโชติมาตรนี้ไม่มีหน่วย เป็นเพียงตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยมีหลักว่าดวงดาวริบหรี่ที่สุดที่ตาเปล่าสามารถมองเห็น มีค่าโชติมาตรเป็น 6 และดาวที่สว่างที่สุดที่ตาเปล่ามองเห็นได้มีค่าโชติมาตรเป็น 1 ดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 1 จะมีความสว่างต่างกัน 2.512 เท่า ถ้าดวงดาวที่มีค่าโชติมาตรต่างกัน 5 จะสว่างต่างกัน(2.512)^5 หรือ 100 เท่า เมื่อใช้มาตราวัดโชติมารตเช่นนี้ จะพบว่า ดวงอาทิตย์มีโชติมาตรเท่ากับ -26.7 และดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุดมีโชติมาตรเท่ากับ -4.5
ดาวที่มีค่าโชติมาตรน้อยจะมีความสว่างมากกว่าดาวที่มีค่าโชติมาตรมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น